ความยุติธรรมกับกฎหมาย..
————————————-
เมื่อตอนที่ผมเรียนกฎหมายที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง ชั่วโมงแรกของการบรรยาย อาจารย์ได้กล่าวว่า “ ความยุติธรรมกับกฎหมายเป็นคนละเรื่องกัน ”
ความรู้สึกในตอนนั้นก็งง ๆ ว่ามันจะต่างกันยังไง ในเมื่อมีกฎหมายแล้วมันก็ต้องมีความยุติธรรมสิ แต่เมื่อผ่านวัน เวลา ไปเรื่อย ๆ จึงค่อย ๆ เข้าใจคำพูดของอาจารย์มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ณ วันนี้ ตระหนักอย่างชัดเจน จึงขอถ่ายทอดความเห็นสักนิด
ความยุติธรรม คือ ความเที่ยงธรรม ความชอบธรรม ความชอบด้วยเหตุผล อันบุคคลผู้มีเหตุผลและมีความรู้สึกผิดชอบเห็นว่าเป็นสิ่งที่ชอบธรรม

กฏหมาย คือ กฎเกณฑ์ ข้อบังคับที่ใช้ควบคุมความประพฤติของมนุษย์ในสังคม มีลักษณะเป็นคำสั่ง ข้อห้าม ที่มาจาก ผู้มีอำนาจสูงสุดในสังคม ใช้บังคับได้ทั่วไป ใครฝ่าฝืนจะต้องได้รับโทษหรือสภาพบังคับอย่างใดอย่างหนึ่ง
โดยสรุป แท้จริงแล้ว กฎหมาย คือ เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่จะนำไปสู่หรือทำให้เกิดความยุติธรรมนั่นเอง
ปัญหาจะไม่เกิดขึ้น หากมีการใช้กฎหมายอย่างเป็นธรรมเพราะนั่นคือ การสร้างความชอบธรรมให้เกิดขึ้น แต่หากเมื่อใดกฎหมายถูกใช้เป็นเครื่องมือในการเล่นงานฝ่ายตรงข้าม เมื่อนั้นก็จะเกิดความเดือดร้อนไปทุกย่อมหญ้า
อริสโตเติ้ลได้เคยกล่าวว่า “ความอยุติธรรมเกิดขึ้นเมื่อคนที่เท่ากันได้รับการปฏิบัติไม่เท่าเทียมกันและเมื่อคนที่ไม่เท่ากันได้รับการปฏิบัติเท่าเทียมกัน ( Injustice arises when equals are treated unequally, and also when unequals are treated equally )”
ขอยกตัวอย่างการใช้กฎหมายที่ไม่เป็นธรรมให้เห็นสักสองสามตัวอย่าง

๑. กรณีการชุมนุม
– นายอิซารา (เป็นพวกเดียวกับรัฐ) สามารถชุมนุมที่ไหนก็ได้ ไปไหนมีการ์ด มีเจ้าหน้าที่ล้อมหน้าล้อมหลัง
– นางอดทน (ถูกรัฐมองว่าเป็นฝ่ายตรงข้าม) แม้นั่งเฉย ๆ อยู่ในบ้าน ก็ถูกหา ว่าขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน

๒. กรณีเรื่องที่
– หากเป็นวัดพุทธ อยู่ในป่า จะถูกเข้าไปตรวจสอบ ประเคนข้อหามาให้ว่ารุกป่าบ้าง วันร้ายคืนร้าย เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นก็ถูกเจ้าหน้าที่จากส่วนกลาง สั่งให้เข้าไปตรวจสอบ พร้อมกับให้ข้อหาต่าง ๆ แทนที่จะให้คำแนะนำ เหมือนต้องการจะให้วัดหมดไปจากแผ่นดิน
– หากเป็นศาสนาอื่น แม้เข้าไปรุกป่าอย่างชัดเจน แต่เจ้าหน้าที่ก็สามารถใช้กฎหมายเข้าไปช่วยเหลือทำให้ถูกต้องได้ และยังให้เงินอุดหนุนในการก่อสร้างด้วย

๓. การไปแสวงบุญ
– หากเป็นชาวพุทธจะไปสังเวชนียสถาน ต้องดำเนินการเอง จ่ายเงินเอง ไม่มีใครมาสนับสนุน
– หากเป็นบางศาสนิก รัฐจะเข้ามาช่วยดูแลอย่างดี ทั้งเรื่องการเดินทางและมีงบประมาณให้เรียบร้อย เพราะมีกฎหมายรองรับ

พอจะเข้าใจแล้วใช่ไหมครับว่าความยุติธรรมกับกฎหมายต่างกันอย่างไร ก็ได้แต่หวังลึก ๆ ว่าบ้านเมืองของเราคงจะมีการใช้กฎหมายอย่างเที่ยงธรรมเพื่อให้เกิดความยุติธรรม เพราะหากไม่เป็นดังว่า อาจจะทำให้เกิดความคิดดังเช่นคำกล่าวของโธมัส เจฟเฟอร์สัน ที่กล่าวว่า

63563
“ เมื่อความอยุติธรรมกลายเป็นกฎหมาย
การลุกขึ้นต่อต้านจะกลายเป็นหน้าที่ ”

อ่านต่อ